รถจี๊ปและกระเป๋าเขียว
“เฮ้ย รถดับ” ผมร้องอุทานเบาๆ พร้อมๆกับประคองให้รถจี๊ป Cherokee จอดข้างทางที่มืดมิด
รถจี๊ป Cherokee คันนี้เป็นรถของพ่อที่ส่งต่อมาถึงผม มันอยู่กับครอบครัวเรามาแล้วถึง 27 ปี
เท่าที่ผมจำความได้ พ่อใช้รถเก่าๆมาตลอด จี๊ปคันนี้เป็นรถป้ายแดงคันแรกที่ผมเห็นพ่อซื้อเป็นรางวัลให้กับตัวเองเพื่อเตรียมตัวออกเที่ยวหลังจากส่งลูกๆเรียนจบและมีงานทำเข้าที่เข้าทางกันหมดแล้ว และพ่อก็ขับมัน “เที่ยว” จนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต
และเมื่อมันมาอยู่กับผม มันก็ทำหน้าที่พาผมและครอบครัวออกเดินทางไปทั่ว
แน่นอน มันเป็นรถที่ผมผูกพันด้วยมากที่สุดคันหนึ่งในชีวิต
พร้อมๆกับรถจี๊ป ผมได้รับมรดกอีกอย่างมากจากพ่อ เราเรียกมันว่า “กระเป๋าเขียว”
แม้จะไม่ได้เรียนมาทางช่าง แต่ด้วยความที่พ่อเติบโตมาในเมืองเล็กๆในชนบท ถึงแม้ตอนหนุ่มจะมาอยู่ในเมืองใหญ่แล้วแต่ก็เป็นช่วงเวลาที่ผู้ชายจะต้องเรียนรู้ที่จะซ่อมสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง พ่อผมจึงซ่อมได้ทุกอย่างตั้งแต่ของใช้ในบ้าน,...
ชีวิตท่ามกลางอากาศอิสระ
ทุกครั้งที่ผมนั่งดูภาพที่ถ่ายมาจากป่าเช่นภาพนี้ ผมจะรู้สึกเสียดายมากที่ไม่ว่าผมจะพยายามเพียงใด ภาพถ่ายก็ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกที่ผมได้รับในตอนนั้นออกมาได้
มันเป็นความรู้สึกที่ยากจะบรรยาย เมื่อมีคนถามผมว่าทำไมผมถึงชอบเข้าป่า
เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้รู้จักกับคำคำหนึ่ง “Friluftsliv” จากภาษานอร์วีเจียน (อ่านว่า ฟรี-ลูฟ-ลิฟ) แปลว่า “ชีวิตท่ามกลางอากาศอิสระ”
Friluftsliv นี้เป็นปรัชญาความคิดที่ฝังรากลึกลงไปในวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของคน Nordic (นอร์เวย์, สวีเดน, เดนมาร์ก) มันไม่ได้หมายถึงการออกไปพิชิตยอดเขาสูง, ไปวิ่งแข่งเพื่อชัยชนะ หรือกิจกรรมอะไร แต่หมายถึงการ “แค่ออกไป” ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งอาจจะเป็นแค่การออกไปกินข้าวในสวนหลังบ้าน, ออกไปแคมป์ในอุทยาน...
Call me Old Fashioned
ช่วงหลังๆมานี้ผมรู้สึกสับสน ด้วยความที่รู้สึกว่าโลกรอบตัวเปลี่ยนแปลงไปมาก จนเริ่มรู้สึกว่าผมมีความคิดความเชื่อที่อาจจะหลุดยุคพ้นสมัย แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ รู้สึกแม้กระทั่งว่าผมอาจจะเป็นตัวประหลาดในสังคมยุคใหม่ แทบจะไม่อยากพูดคุยออกความเห็นกับใคร
วันนี้ผมบังเอิญได้ฟังเพลง “Call me Old Fashioned” เพลงลูกทุ่งเก่าๆของวง High Valley และ Bradley Walker เอามาร้องอีกครั้ง จึงได้พอเข้าใจว่าผมเป็นอะไร
บางคนกล่าวว่า “You are what your eat” “กินอะไรก็เป็นคนเช่นนั้น”...
เบื้องหลังภาพสวยๆของ Ansel Adams
ผมได้มาเยี่ยมเยียน Ansel Adams gallery ใน Yosemite Valley อีกครั้งผมได้มาที่นี่ครั้งแรกและรู้จักชื่อของ Ansel Adams ด้วยคำแนะนำของเพื่อน Patrick Chuenrudeemol
เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ในครั้งแรกนั้นผมเพียงรู้สึกทึ่งกับภาพถ่ายธรรมชาติที่สวยงามแบบที่ผมไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน
ในช่วงเวลานับสิบปีหลังจากนั้นมาผมจึงได้สนใจหาหนังสือของ Ansel Adams มาอ่าน หลงไหลคลั่งไคล้ไปกับอุปกรณ์และเทคนิคที่เขาใช้ ไม่ว่าจะเป็นกล้องฟิล์มขนาดใหญ่ เทคนิคการถ่ายภาพและล้างอัดภาพขาวดำที่เขาเขียนไว้ในตำรา...
การสั่งปิดสั่งห้ามคือการจัดการที่(มัก)ง่ายที่สุด
การสั่งปิดสั่งห้ามคือการจัดการที่(มัก)ง่ายที่สุด
ผมเคยได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้คนที่รักธรรมชาติและเป็นคนสำคัญที่ขับเคลื่อนการอนุรักษ์ในประเทศเรา ทุกท่านพูดเหมือนกันหมดว่าสิ่งที่ทำให้เขารักและทำงานต่อสู้เพื่อให้ธรรมชาติดำรงอยู่นั้นมาจากการที่พวกเขามีโอกาสได้สัมผัสธรรมชาติจากการไปแค้มป์, ไปเดินป่า, ไปดูนก, ไปดำน้ำ ในอุทยานแห่งชาติ
มันทำให้ผมเชื่อมั่นเสมอมาว่าการสร้างโอกาสให้กับคนทั่วไปได้สัมผัสธรรมชาติอย่างที่เป็นจริงคือรากฐานที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การอนุรักษ์ธรรมชาติของเราเดินหน้าต่อไปได้
และมันก็คือวัตถุประสงค์หลัก 1 ใน 3 ข้อที่อุทยานแห่งชาติถูกจัดตั้งขึ้นมา
หลายปีที่ผ่านมานี้จำนวนคนที่ออกไปแค้มปิ้ง, เดินป่า ออกไปเที่ยวธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างมาก มองในมุมหนึ่ง นั่นคือโอกาสที่ดีที่จะสร้างแนวร่วมของผู้คนที่รักธรรมชาติรุ่นใหม่ๆขึ้นมา
แต่ดูเหมือนว่ากรมอุทยานจะไม่ได้มองอย่างนั้น และไม่ได้พยายามที่จะปรับตัวที่จะใช้โอกาสนั้นให้เป็นประโยชน์
แน่นอนว่านักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึงปัญหาเพิ่มมากขึ้นที่ต้องจัดการ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ
หลายคนบอกว่าปัญหาต่างๆในบ้านเราหลักๆมาจากการขาดจิตสำนึกของผู้คนในส่วนรวม ซึ่งผมก็ว่าจริง เพราะในประเทศนี้เราไม่เคยคิดที่จะปลูกฝังสร้างจิตสำนึกกัน มีแต่จะออกกฎมาห้ามมากขึ้นเรื่อยๆ
ผลที่เกิดขึ้นก็คือเรากลายเป็นประเทศที่มีกฎระเบียบหยุมหยิมมากที่สุดประเทศหนึ่ง โดยที่กฎส่วนใหญ่บังคับใช้ไม่ได้ และปัญหาก็ยังเกิดจากการขาดจิตสำนึกมากกว่าเดิม ไม่ได้พัฒนาไปในทางที่ควรจะเป็นเลย
เราจะคาดหวังให้ทุกคนเข้าใจและจิตสำนึกเกิดขึ้นงอกงามขึ้นมาเองคงจะเป็นไปไม่ได้
จากข่าวที่กรมอุทยานพยายามสร้างกระแสว่าควรต้องปิดอุทยานปีละ...
The River of the Mother of God
ด้วยชื่อที่สะดุดใจตั้งแต่แรกเห็นทำให้ผมต้องรีบซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่าน พอได้อ่านจึงรู้ว่าหนังสือเล่มนี้รวบรวมงานเขียนของ Aldo Leopold ที่ล้ำลึกกว่าชื่อเสียอีก
ถ้าใครยังไม่เคยรู้จัก Aldo Leopold ไม่ต้องแปลกใจครับ Leopold เป็นที่นับถืออย่างมากในอเมริกาแต่มีคนรู้จักน้อยมากในเมืองไทยAldo Leopold นั้นเป็นคนที่เราจะอธิบายได้ยากมากว่าเขาคือ “อะไร” เพราะเขาเป็นทั้ง นักวิชาการด้านธรรมชาติ, พนักงานป่าไม้, นักอนุรักษ์, นักเขียน, นักตกปลา, นักล่าสัตว์, อาจารย์มหาวิทยาลัย, นักปรัชญา ถ้าอยากรู้จักเขาให้มากขึ้นลองอ่านบทความที่ผมเขียนไว้จากลิ้งค์ที่ท้ายเรื่องนี้นะครับ
ในบรรดาบทความสั้นๆที่ถูกเอามารวมไว้ในเล่มนี้มีเรื่อง ”The...
แกงฮังเล สูตรเมืองน่าน
ครอบครัวทางพ่อผมเป็นคนเหนือ เป็นคนเมืองน่าน และที่บ้านเราก็ชอบกินอาหารเหนือกันมาตั้งแต่ผมเด็กๆ
อาหารเหนืออย่างหนึ่งที่ผมชอบมากก็คือแกงฮังเล และผมก็ตระเวณไปชิมแกงฮังเลในจังหวัดต่างๆทั่วภาคเหนือ แต่ละจังหวัดก็มีสูตรของเขาแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน, แพร่ แต่ไม่มีที่ไหนที่เหมือนแกงฮังเลที่คุณย่าทำให้กินตอนเด็กๆ ไม่ได้บอกว่าอะไรอร่อยกว่ากันนะครับ แค่แตกต่าง
ในช่วงโควิดที่ต้องอยู่กับบ้าน ผมพยายามค้นหาสูตรแกงฮังเล เพราะคุณย่าเสียไปแล้วกว่า 30 ปี พ่อผมที่เคยทำก็เสียไปสิบกว่าปีแล้ว โชคดีที่เจอตำราที่พ่อจดไว้ และยังมีคนที่ย่าเคยสอนไว้ทำเป็นอยู่
ผมทำกับข้าวอะไรไม่เป็นเลย แต่ตลอด 1 ปี ที่ผ่านมานี้ผมทดลองทำแกงฮังเลจนสามารถบอกกับตัวเองได้ว่านี่แหละแกงฮังเลที่ใกล้เคียงกับที่ย่าทำมากที่สุดแล้ว
เครื่องปรุงสำคัญของแกงฮังเลคือผงฮังเล และน้ำพริก...
จะซอ
แม้ว่ามือทั้งสองข้างของผมจะเกาะรากไม้ไว้แน่น แต่เมื่อมองลงไปเห็นข้างล่างเป็นหน้าผาตัดดิ่งลงไปกว่ายี่สิบเมตรจึงจะถึงพื้นล่าง ผมก็ถึงกับเย็นวาบไปทั้งตัว
“ลงไม่ได้แล้ว” ผมตะโกนลั่นป่า
จะซอผู้ที่ลงไปถึงข้างล่างแล้วปีนไต่หน้าผาหินนั้นกลับขึ้นมาอีกครั้งด้วยความรวดเร็วราวกับจิ้งจกไต่ข้างฝา
เขาเอาเชือกเส้นหนึ่งผูกกับรากไม้แล้วยื่นส่งให้ผม
“เกาะเชือกนี้ลงไปได้”
มันน่าจะเป็นกำลังใจมากกว่าเชือกเปลเส้นเล็กๆเส้นนั้นที่ทำให้ผมรอดชีวิตมาได้จากหน้าผานั้น
3 วันหลังจากนั้นเราหลงทางไปด้วยกันเพื่อค้นหาน้ำตกที่มีคนลือกันว่าอยู่ในหุบเขา เราอดข้าวไปด้วยกัน กลางคืนก็ผูกเปลไขว้กันไปมาบนต้นไม้ต้นเล็กๆต้นเดียวท่ามกลางอากาศที่หนาวจนสั่น
และเราก็กลายเป็น “เพื่อน” กันจากนั้นมา
ทุกครั้งหลังจากนั้น ถ้าหากรู้ข่าวว่าผมจะมาที่แม่เงา จะซอจะลงมาจากบ้านบนเขาเพื่อมารอผมและไปเที่ยวด้วยกัน
เมื่ออยู่ในป่า จะซอจะคอยดูแลคนเมืองที่อ่อนหัดอย่างผมตลอด แม้กระทั่งคอยหุงข้าว หาปลาให้กิน
จะซอพูดน้อย และเมื่อพูดไทยสำเนียงกระเหรี่ยงผมก็ฟังแกเข้าใจได้แค่ 50% แต่ถึงกระนั้น จะซอก็เป็นคนหนึ่งที่ผมเรียกเต็มปากเต็มหัวใจว่า “เพื่อน”
กว่ายี่สิบปีที่เที่ยวป่ามาด้วยกัน ผมได้เรียนรู้อะไรมากมายจากจะซอที่เป็นลูกป่าแท้ๆ
แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ผมได้เรียนรู้จากการที่ได้รู้จักจะซอมักจะเกิดขึ้นเมื่อเรากลับออกมาจากป่ากัน
จะซอเสมือนเป็นตัวแทนของคนจำนวนหนึ่งของประเทศนี้ที่มีชีวิตอยู่กับป่า ชีวิตที่คนเมืองอย่างเรามองข้าม, ไม่เห็นความสำคัญและไม่เคยเข้าใจ
พวกเขาใช้ชีวิตสมถะอยู่กับธรรมชาติมาตลอด และย้อนไปจนถึงรุ่นพ่อรุ่นปู่ แต่ชีวิตเช่นนี้ยากลำบากขึ้นมากในยุคที่สิ่งแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนไปอย่างเร็ว...
ชีวิตบนยอดไม้ที่เมืองลาว
ผมลอยละลิ่วไปกลางอากาศเหนือหุบเขากว้างใหญ่สูงจากพื้นดินนับร้อยเมตร เห็นยอดไม้อยู่ลิบๆ ในเบื้องล่าง
เสียงรอกที่ดังแผดอยู่ข้างหูเป็นสิ่งเดียวที่เตือนว่าผมไม่ได้กำลังฝันอยู่
เมื่อกวาดตามองไปรอบตัว ใจก็พลางคิดขึ้นมาว่า “คนที่กลัวความสูงอย่างข้าพเจ้ามาทำอะไรที่นี่หว่า”
1.
เส้นทางถนนดินเส้นนั้นจบลงที่หมู่บ้านเล็กๆ ที่ชายป่า
ผมกระโดดลงจากรถกระบะขับเคลื่อนสี่ล้อคันนั้นตั้งแต่ก่อนที่ฝุ่นรอบตัวจะสงบลง ผมเป็นคนไทยคนเดียวในผู้มาเยือนกลุ่มนี้ สมาชิกของเรามีทั้งชาวเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ และอเมริกัน รวมผมด้วยเป็น 6 คน
อีกไม่กี่นาทีต่อมาเราก็แบกเป้ขึ้นหลังและเริ่มเดินทางกันต่อบนทางเดินเล็กๆ ที่ข้ามลำน้ำออกไปจากหมู่บ้าน ทุกคนล้วนต้องรับผิดชอบในการแบกสัมภาระของตัวเอง ในขณะที่ม้าต่าง 2 ตัวบรรทุกเสบียงอาหารเข้าไปพร้อมๆ กับเรา
ผู้นำทาง 2 คนของเราเป็นชาวลาว ชื่อบุนลืนและคำพี เป็นชาวบ้านเผ่าละมีด ทั้งสองคอยแนะนำสิ่งต่างๆ...
ปัญหาที่หนักหนาที่สุด คือเราไม่เข้าใจปัญหา
ปัญหาที่หนักหนาที่สุด คือเราไม่เข้าใจปัญหา
แล้วก็มักจะลากกันไปผิดประเด็น และไม่รู้จักจัดลำดับความสำคัญ
ปรกติผมไม่ค่อยได้ติดตามเรื่องราวในโซเชี่ยล ก็ไม่เลยไม่เข้าใจอยู่หลายวันว่าทำไมคนถึงพูดกันว่า ไข่เจียวเขาเรียกไข่ทอด และถกเถียงกันเรื่องราคาโซล่าเซล
และปรกติผมจะไม่ออกความเห็นในเรื่องที่เป็นประเด็นในโซเชี่ยล เพราะมักจะมี “คนรู้” เยอะอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าพอจะรู้กับเขาอยู่บ้าง เลยขอออกความเห็นสักหน่อยครับ
ไม่ใช่เรื่องไข่ทอดหรือโซล่าเซลนะครับ แต่เป็นเรื่องวิถีชีวิตของคนในชนบทผมโชคดีที่ได้มีโอกาสได้คลุกคลีกับเพื่อนๆที่อยู่กับป่าอยู่บนดอยมาบ้าง และล่าสุดที่น่าสนใจมากก็คือ ผมมีโอกาสได้ไปนั่งฟังงานวิจัยของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เกี่ยวกับชุมชนในจังหวัดน่าน
น่าสนใจมากครับ เพราะอาจารย์หลายท่านใช้เวลากว่า 2 ปีทำงานอยู่กับชาวบ้านจนเข้าใจรากของปัญหา และพยายามช่วยกันหาทางแก้ปัญหานั้นบ้านน้ำปี้และบ้านวนาไพรอยู่ในเขตอุทยานฯศรีน่าน ที่อยู่ในเขตอุทยานฯก็เพราะอยู่มาก่อนนานแล้วอุทยานฯมาประกาศล้อม
ทีมงานวิจัย พบว่าชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านนี้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่งขาย...