ตกปลาเพื่อการอนุรักษ์ที่ลำน้ำเงา
แม่น้ำเงา แม่น้ำที่สวยที่สุดสายหนึ่งในประเทศไทยและยังไม่มีเขื่อนหรือฝายกัน ตลอดลำน้ำนี้มีเขตอนุรักษ์ปลาของหมูบ้านกะเหรี่ยงที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาหลากหลายสายพันธุ์
หลายหมู่บ้านยินดีต้อนรับนักปลาเชิงอนุรักษ์ ด้วยเงื่อนไขที่จะต้องตกแล้วปล่อย , ใช้อุปกรณ์ที่ไม่ทำร้ายปลาจนมากเกินไป เช่นใช้อุปกรณ์ฟลายฟิชชิ่ง ห้ามใช้เหยื่อสด ห้ามให้เบ็ดที่มีหลายเงี่ยง ต้องบีบเงี่ยงเบ็ด ฯ และจ่ายเงินสนับสนุนการอนุรักษ์ของหมู่บ้าน (อัตราปัจจุบันคือ 500 บาทต่อวัน หรือ 300 บาทต่อครึ่งวัน)
โครงการพัฒนาป่าไม้ ตามแนวพระราชดำริ จือทะ-สบโขง, อำเภอสบเมย และ มูลนิธิธรรมชาติไม่จำกัด (กำลังดำเนินการจัดตั้ง)...
Canoe Camping แม่น้ำเงา
Canoe Camping ที่แม่น้ำเงา
การเดินทางของเราครั้งนี้ เริ่มมาจาก พี่งบและพี่บี พี่ชายที่ฉันรักและเคารพ ทั้ง2เปิดหัวเรื่องกลางวงสนทนาที่เราจัดขึ้นช่วงบ่ายของเกือบทุกวันในร้าน Thailand Outdoor
"ต่ายต้องไปที่นี่ให้ได้ ยังไงก็ต้องไป" "พี่ว่าเป็นแม่น้ำที่สวยที่สุดในเมืองไทยแล้ว" "อากาศดีมาก คนที่นั่นน่ารักมาก" 'จุดกางเต๊นที่นั่นสวยที่สุดแล้วจริงๆ" "น้ำในแม่่เงาใสจนเหมือนเรือลอยได้เลยนะ" ฉันหันซ้ายที ขวาที ไปตามเสียงที่บรรยายแม่เงาจากพี่ๆ แบบตาไม่กะพริบ ภาพแม่เงาค่อยๆ ลอยขึ้นมาในหัวใจ
"ไปคะ" และนั่นคือคำตอบสั้นๆ จากฉัน ถึงการเริ่มต้นของทริปนี้
เช้าวันนัดหมาย...
ตามหาตำนานแก่งที่สูญหาย
คืนนี้เป็นแค้มป์ที่พิเศษที่สุดคืนหนึ่ง
ด้านหน้าของแค้มป์คือลำน้ำน่านไหลเอื่อยผ่านแก่งเจ็ดแควที่สวยงามยิ่งนักเมื่อกระทบกับแสงสีทองของพระอาทิตย์ที่กำลังลับเหลี่ยมเขา
กลางคืนแค้มป์ของเราส่องสว่างไปด้วยแสงของพระจันทร์แรมหนึ่งค่ำดวงโต โอบกอดไปด้วยเทือกเขารอบทิศ ห่มด้วยดวงดาวเต็มท้องฟ้า กรุ่นไปด้วยกลิ่นหอมจากกองไฟ และขับกล่อมด้วยเสียงน้ำน่านที่ไหลแผ่วเบา
“จะไปก็รีบไปนะน้างบ ลุงแก่ขึ้นทุกปี เดี๋ยวจะไปไม่ไหว” ลุงเสริมนายท้ายของข้าพเจ้าพูดทุกครั้งที่เราได้ไปพายเรือล่องแม่น้ำน่านด้วยกัน (อ่านเรื่องราวตอนแรกของ "แคนูแค้มปิ้งลำนำน่าน" ได้ที่นี่ครับ)
โดยปรกติ เราจะพายเรือแคนูล่องแม่น้ำน่านด้วยกันจากบ้านส้านอำเภอเวียงสาจนถึงแก่งหลวงเป็นประจำทุกปี และทุกครั้งเราก็จะพูดถึงแม่น้ำน่านในช่วงจากแก่งหลวงลงไปถึงบ้านปากนายที่ลุงเสริมเคยไปหาปลาแต่พวกเราคนอื่นๆยังไม่เคยได้เห็น
ในหนังสือ “ปราโมทย์คลาสสิค” คุณปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ นักเขียนรุ่นบุกเบิกของอนุสาร อ.ส.ท. และวงการสารคดีท่องเที่ยวไทยเขียนเล่าไว้ในเรื่อง “ล่องแก่งแม่น้ำน่าน” ว่าท่านและคณะได้ล่องเรือยนต์จากจังหวัดน่านผ่านแก่งต่างๆมากมายไปจนถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้เวลาเดินทางถึง 4 วัน...
แคนูแค้มปิ้งลำน้ำน่าน
เรื่อง: ธัชรวี หาริกุล
ภาพ: นัท สุมนเตมีย์
“ล่องแก่งแม่น้ำน่านที่พ่อเคยไปนะ สวยมาก สองข้างลำน้ำเป็นป่าตลอดทาง น้ำใสมองเห็นพื้นล่าง ปลาเยอะแยะหากินได้แทบทุกมื้อ ที่นอนก็เป็นหาดทรายสวย ตอนเช้าๆมีนกยูงลงมารำแพนให้เห็นเลย”
ผมได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับการล่องแก่งแม่น้ำน่านมาตั้งแต่เด็กเป็นเวลาหลายสิบปีจนรู้สึกเหมือนกับว่าเป็นนิยายปรัมปะรา
เท่าที่จำความได้ พ่อพาเพื่อนๆไปล่องแก่งที่น่านกันหลายครั้ง แต่ผมด้วยความที่เป็นลูกชายคนเล็กที่ห่างจากพี่ๆมากจึงเด็กเกินไปที่จะไปด้วย ทุกครั้งพี่ๆและลุงๆทั้งหลายกลับมาถึงก็จะมีเรื่องเล่ามากมายมาฝากเด็กน้อยที่นั่งคอยอยู่ที่บ้าน
เมื่อผมโตขึ้น พื้นที่ป่าในจังหวัดน่านก็กลายเป็นพื้นที่อันตรายของความขัดแย้งทางการเมืองอยู่นับสิบปี หลังจากนั้นเมื่อถามพ่อเกี่ยวกับเส้นทางสายนี้ พ่อก็บอกว่าคนที่มีเรือพาเที่ยวได้ต่างก็เลิกรากันไปหมดแล้ว
จนถึงตอนนี้ พ่อจากผมไปสองปีแล้ว ผมเองตระเวนไปทั่วสารทิศแต่กลับไม่เคยไปล่องน้ำน่าน ลำน้ำที่ฝังใจอยากไปมาแต่เด็ก
หากแต่ว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีข่าวคราวของน้ำสายนี้ว่าเปลี่ยนแปลงไปเช่นใด เพื่อนๆพ่อที่เคยไปเที่ยวด้วยกันก็จากไปหมดแล้ว รุ่นที่เด็กหน่อยก็ไม่มีใครจำได้ว่าเดินทางไปที่ไหนอย่างไรบ้าง ดังนั้นการเดินทางครั้งนี้ของผม...