ผู้ตรวจรับปืน ร.ศ. โดยปกติเมื่อบริษัทผู้สร้างปืนทหารเริ่มผลิตปืนตามสัญญาแก่ประเทศใด จะต้องมีเจ้าหน้าที่ของประเทศผู้ซื้อมา
คอยตรวจรับ ประทับตรารับรองคู่กับตราผ่านการตรวจสอบของผู้ผลิต (Inspector Mark) เมื่อมีการลงนามในสัญญา
กับญี่ปุ่นนั้นทั้ง 2 ฝ่ายต้องการให้เก็บเรื่องเงียบ โดยต่างฝ่ายก็มีเหตุผลของตนเองอยู่ในใจ ดังนั้นผู้ตรวจรับฝ่ายไทย
ซึ่งจะต้องมาอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่นในโรงงาน โคอิชิกาว่า ต้องทำตัวเป็นนินจา ให้เข้าบรรยากาศของซามูไร ไม่ยอมให้ฝรั่ง ไหนรู้ รายชื่อผู้ตรวจรับ (Inspector) มีระบุนามชัดเจนในข้อที่ 6 ของสัญญา
"Inspection - Each piece of the said rifles shall be examined and tested in the presence of the Royal Siamese Government Inspectors, namely, Lt.Col. M.Chatidej and Major M.C. Bovaradej"
ทั้งสองท่านเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนากรมสรรพาวุธทหารบก โดยเฉพาะ พต. หม่อมเจ้าบวรเดช (ยศในขณะนั้น)
ผู้ตรวจทั้ง 2 ออกจากกรุงเทพโดยเรือกลไฟ เมื่อ 24 มิถุนายน ร.ศ. 121 ไปต่อเรือที่สิงโปร์โดยระหว่างทางแวะฮ่องกง
และเซี่ยงไฮ้มิได้ตรงเข้าญี่ปุ่นเพื่อตบตาชาวบ้าน เมื่อเข้ารายงานตัวยังสถานทูตไทยในวันที่ 20 กรกฎาคม นั้นก็แต่ง ตัวเหมือนมาเป็นการส่วนตัวไม่ใช่เครื่องแบบทหาร
พท. นัมบู
พท. คิจิโร่ นัมบู (Col. Kijiro Nambu) ผู้ฝากผลงานไว้ในปืนทหารญี่ปุ่นแทบทุกชนิด ขณะนั้นเป็นหัวหน้าคุมสาย การผลิตปืนเล็กยาวประจำโรงงานสรรพาวุธทหารกรุงโตเกียว ถูกมอบหมายจากเสนาบดีกลาโหมให้ดูแลผู้ตรวจจาก
เมืองไทยและรีบพาเข้าชมโรงงานทันทีทั้งนี้สองฝ่ายได้ตกลงกันว่า (1.) ไม่ควรแต่งเครื่องแบบทหารในขณะอยู่ในญี่ปุ่น หรือ เข้ามาที่โรงงาน (2.)ควรย้ายออกจากโรงแรมชั้นหนึ่งไปอยู่บ้านเช่าไกลตาคน
(3.) ฝ่ายไทยอยากดูอะไรก็ได้แค่ขอเก็บเป็นความลับ
ในบันทึกทำให้ทราบว่า พท. นัมบู พูดอังกฤษได้ดีมาเป็นล่ามให้ตลอด ฝ่ายไทยยังต้องแปลกใจเมื่อพบว่าโรงงาน
สรรพาวุธแห่งนี้ใช้คนงานถึง 2 พันคน ทำงานทุกวันตั้งแต่ 6 โมงเช้ายัน 2 ทุ่ม โดยไม่ทราบว่าเตรียมอาวุธไปรบกับ ใครกันแน่ พท. นัมบู ให้ความร่วมมืออันดีในการออกแบบเข็มขัดคันชีพสำหรับเหน็บอุปกรณ์และมีดปลายปืน ร.ศ.
พร้อมทั้งช่วยกันออกแบบปุ่มปลดแผ่นรองแม็กกาซีนให้ต่างจากปืนเมาเซอร์ทั่วไปด้วย
|