6. เดินหน้าเต็มตัว
เมื่อทีมชาติญี่ปุ่นได้องค์เมอิจิมาเป็นโค้ชใหม่แล้ว ซามูไรนักปฏิวัติก็เริ่มวางตัวผู้เล่นในตำแหน่งต่าง ๆ โดยฟอร์ม
รัฐบาลซึ่งประกอบด้วยผู้รู้วิทยาการของตะวันตกที่มาจากก๊กทั้งสองไซโก้ตอนนี้ได้เป็นทั้งเทียบเท่า ผบ. ทบ. และได้ เป็นอาจารย์ใกล้ชิดองค์พระจักรพรรดิจริงดังที่ในหนังอ้างไว้ และให้ไซโก้คุมกำลัง ทหารหลวง (Imperial Guard) ถึง 50,000 คน เพื่อค้ำจุนรัฐบาลและสนับสนุนการปฏิรูปสังคมตามแผน สโลแกนของรัฐบาลนี้ก็คือ ญี่ปุ่นต้องรวยและแกร่ง
"Rich Country, Strong Army"
ท่านผู้อ่านที่คิดว่าการปฏิรูปแบบเมอิจิ คงจะผ่อนสั้นผ่อนยาวถนอมน้ำใจคนเก่าแบบที่ ร. 5 ทรงยึดถือ ขอเล่าว่า
ท่านคิดแบบไทย ๆ ญี่ปุ่นนั้นเป็นคนดุดันเอาเป้าหมายเป็นที่ตั้ง ยิ่งถูกโตกูกาว่าเก็บกดมานานก็เหมือนคนเบรกแตก
ซึ่งอดเอานิสัยซามูไรเดิมๆมาใช้ไม่ได้คือ ใครขวางก็ฟันดะ ตรงนี้ขอให้สังเกตหนังญี่ปุ่นรุ่นเก่ามักจะจบแบบไม่สวย
คือ ไม่ฟันกันตายเกลื่อนก็ต้องเลือดตกยางออก น้ำตาท่วมจอ ไอ้จะมา Happy Ending แบบหนังไทย หรือพระเอก จูบนางเอกก่อนปิดฉากแบบหนังฝรั่งนั้นไม่มีละครับ
เมื่อการพัฒนาประเทศมาถึงขั้นที่ต้องปรับกองทหารให้แกร่งตามนโยบาย ก็พบปัญหาเดียวกับสมัย ร. 5 อีกคือการ ที่หาคนมาเป็นทหารได้ไม่เพียงพอ จะเอาอดีตซามูไรมาเป็นทหารก็แก่เกินฝึกวิชาใหม่ๆ จะให้เข้าเรียนนายร้อย จปร.
บางคนก็ไม่สามารถผ่านการศึกษาขั้น ประถม มัธยม ขึ้นมาได้เพราะอาจไม่เคยต้องเข้าโรงเรียน ดังนั้นจึงต้องดัน พรบ. เกณฑ์ทหาร ออกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1871 ก่อนเมืองไทยถึง 20 ปี
แต่การกระทำเช่นนั้นกลายเป็นเหตุให้ทางเดินของคณะปฏิวัติและไซโก้ต้องแยกกันอย่างน่าเสียดาย
7. ศักดิ์ศรีซามูไร
คณะ ปว.ปรารถนาจะเห็น"กองทัพแห่งชาติ" ญี่ปุ่นที่มีกำลังพลประจำการนับแสนไม่มีชั้นวรรณะ และมีอาวุธทันสมัย
ไซโก้ก็เห็นเช่นเดียวกันแตกต่างกันที่ ไซโก้เห็นว่าชนชั้นซามูไรยังมีบทบาทผู้นำทหารอยู่เช่นเดิม และควรเป็นนาย ทหารหรือส่วนกำลังรบหลัก พวกลูกชาวบ้านให้เป็นมือรอง ๆ อยู่แต่ในครัวก็ได้
ส่วนผลการพัฒนาก็กระทบความเป็นอยู่ของซามูไรอย่างมาก จากเคยมีนายเลี้ยง ก็กลายเป็นคนตกงานท่านไซโก้ ก็เป็นซามูไรคนหนึ่ง จึงสะเทือนใจ ปรารถนาที่จะรักษาเกียรติภูมิซามูไรเอาไว้คู่กับประเทศญี่ปุ่น เลยพาลไปตำหนิ
รัฐบาลว่าเร่งปฏิรูปบ้านเมืองเร็วเกินไป และต้องการให้มีกองทัพซามูไรล้วนออกไปทำการรบจริงให้ประชาชนเห็นอีก สักครั้ง
|