เรมิงตันคาร์ไบน์ เก็บไว้เป็นน้องนุชสุดท้องเพราะว่าเป็นปืนที่ทำเสร็จไม่ทันสงครามด้วยซ้ำไปแต่เป็นปืนที่มีใช้มากในเมืองไทย
ที่สำคัญปืนเรมิงตันคาร์ไบน์หรือที่ฝรั่งเรียกว่า สปริทบรีช (Split Breech) เป็นต้นกำเนิดของปืนเรมิงตันแบบ
โรลลิ่งบล็อคที่มีชื่อที่สุดของเรมิงตัน ผู้ออกแบบคือนายไกเกอร์ (Leonard M. Geiger) ในปี ค.ศ.1863 เพราะ
แกทนดูปืนบรรจุท้ายรุ่นพี่แบบแปลกๆ ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้างอย่างรำคาญใจ เลยเสนอทำระบบที่ง่ายแต่แข็งแรงกว่า ปืนร่วมสมัยทั้งหมดออกมาซึ่งช่างของทีมเรมิงตันชื่อนายไรเดอร์ (Joseph Rider) ได้ปรับปรุงให้สมบูรณ์แบบใน
ภายหลัง ระบบการทำงานก็ง่ายจริงดังว่าเพราะใช้นกสับขนาดใหญ่เป็นตัวล็อคท้ายรังเพลิง โดยแรงสปริงแหนบ ที่แข็งแรงมาก ไม่ต้องมีแท่งล็อคเลื่อนไปมาหรือพับได้ให้ยุ่งยาก ชิ้นส่วนที่หมุนตามแกน 2 แกนขนาดใหญ่ยึดโครง
ปืนไว้ก็มีแค่ 2 อย่าง คือนกสับและฝาปิดรังเพลิง
ฝาปิดเป็นแผ่นเหล็กผ่าไว้ตรงกลางให้นกสับตีท้ายกระสุนและล็อคเอาไว้ เจ้าฝาปิดนี่เองเป็นที่มาของคำว่า Split
Breech ทบ. ตกลงสั่งปืนรุ่นแรกขนาด .46 จำนวน 5,000 กระบอก และตามด้วยขนาด .50 คาร์ไบน์ อีก 15,000 กระบอก หากแต่เรมิงตันมีงานราชการล้นมือกว่าจะส่งเจ้าคาร์ไบน์ได้ก็สงครามเลิก มีแต่ปืนรุ่น .46 เรียกว่า รุ่นโครง
ปืนเล็ก ใช้กับกรมทหารม้าที่ 9 ส่วนรุ่น .50 เรียกว่า รุ่นโครงปืนใหญ่ ถูกเรมิงตันขอซื้อคืนส่งนอกให้ฝรั่งเศสและชาติ อื่นๆ เป็นปืนที่คนอเมริกันแทบไม่ได้เห็นอีกเลยและถ้าจะดูก็มาเมืองไทยนี่ละโดยใช้ในราชการทหารและงานมหาด
ไทยอย่างกว้างขวาง บนโครงปืนจะไม่บอกรุ่นอะไรให้ทราบ แต่ตีตราว่า "Remington's Ilion, N.Y. / PAT. Dec. 23, 1863 May & Nov.16,1864" เท่านั้น
ส่วนลูกหลานของปืนชนิดนี้เป็นปืนโรลลิ่งบล็อคก็คือทำฝาปิดท้ายให้แข็งแรงกว่าเดิมกลายเป็นส่วนร่วมกับนกสับ ในการล็อครังเพลิงด้วย ลักษณะการง้างนกและเปิดฝาโดยวงล้อเหล็กขนาดใหญ่หมุนอยู่บนแกนที่ฝังยึดในโครงปืน
กลายเป็นชื่อเรียกระบบ "ล็อคท้ายแบบหมุน" หรือ Rolling Block นั่นเอง
|